เที่ยวบ้านผาฮี้ ดอยผาฮี้ อ.แม่สาย จ.เชียงราย

เที่ยวบ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

เที่ยวบ้านผาฮี้ ดอยผาฮี้

เที่ยวบ้านผาฮี้ ทริปด่วนจี๋! เมื่อหลานมาบอกว่าจะขึ้นไปเที่ยวดอยแม่สลอง ก็เลยแนะนำอีกที่อยู่ทางไปดอยตุง คือ “บ้านผาฮี้ หรือ ดอยผาฮี้” เห็นเพื่อนๆ ไปเที่ยวกันมาหลายคนละ อีกอย่างนักท่องเที่ยวเริ่มขึ้นไปเที่ยวมากขึ้น หลังจากข่าวเด็กติดในถ้ำหลวง เพราะดอยที่เราว่าก็อยู่ใกล้ถ้ำหลวง เป็นดอยที่อยู่ฝั่งด้านหลัง คุยกันไม่ถึง 10 นาที ก็ตัดสินใจขึ้นไปเที่ยวบ้านผาฮี้-ดอยผาฮี้ ด้วยกัน อยากไปมานานละเหมือนกัน มีเวลาว่างก็พากันไปทันที ก่อนออกเดินทางก็เช็คเส้นทางการเดินโดยการ กดโทรศัพท์ถามน้องชายที่เคยไปมาก่อนหน้านี้แล้วว่า ขึ้นไปทางไหน และถนนดีไหม และก็ถามพ่อของหลานด้วย โดยคำแนะนำมี 2 ทางเลือก ที่เราต้องตัดสินใจเลือก สรุปคำแนะนำสั้นๆ คือ

คำแนะนำที่ 1 ขึ้นไปทางดอยผาหมี/บ้านผาหมี ใช้เส้นทางไป อ.แม่สาย และเลี้ยวซ้ายตรงร้านจันกับผัก (นับระยะทาง จากปากทางดอยตุง ไปถึงร้านจันกะผัก ประมาณ 15 กิโลเมตร) ถนนลาดยาง เส้นทางนี้ไปถึงหมู่บ้านผาหมี ประมาณ 5 กิโลเมตร และจากบ้านผาหมี ขึ้นไปดอยผาฮี้ ระยะทางประมาณ 7 กิโลเมตร ถนนจะเป็นแบบทางขึ้นเขาสูงชัน และค่อนข้างแคบมากๆ ขากลับนั้นเลือกได้ 2 ทาง คือ

  • ทางที่ 1 ไปทางดอยช้างมูบ ดอยตุง ซึ่งก็จะเป็นถนนขึ้นเขาเช่นกัน
  • ทางที่ 2 กลับทางเดิม จะเป็นทางลงเขา แคบชัน เหมือนเดิม

คำแนะนำที่ 2 ขึ้นไปทางดอยตุง ระยะทางปากทางดอยตุง – ดอยช้างมูบ ประมาณ 18 กิโลเมตร  จากดอยช้างมูบไปหมู่บ้านผาฮี้ ประมาณ 3 กิโลเมตร  ถนนลาดยาง โดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้เส้นทางนี้ เพราะจะขับรถง่ายกว่า ทางไม่ชันมาก ขากลับเลือกได้ 2 ทางคือ

  • ทางที่ 1 กลับลงไปทางดอยผาหมี/บ้านผาหมี ส่วนใหญ่จะเป็นทางลงเขา ทางจะค่อนข้างแคบ และถนนลาดยางที่ทรุดโทรมาลงมาก ต้องขับด้วยความระมัดระวัง ** หากกลับทางผาหมี มีแนะนำสถานที่สวยงามอีกที่หนึ่งเพิ่งเปิดได้ไม่นาน นั่นคือ สวนคุณปู่ ดอยผาหมี
  • ทางที่ 2 กลับทางเดิมที่มา คือ กลับย้อนไปทางดอยช้างมูบ ดอยตุง

เราชั่งใจพักหนึ่ง เลือกทางที่คิดว่าปลอดภัยกับตัวเรามากที่สุด และเลือกเส้นทางที่เคยไป เราเคยไปดอยช้างมูบ แต่ไม่เคยไปถึงผาฮี้ ก็เลยตัดสินใจเลือกคำแนะนำที่ 2 คือ ไปทางดอยตุง-ดอยช้างมูบ-บ้านผาฮี้ และขากลับเลือกทางที่ 1 คือ เลือกลงทางหมู่บ้านผาหมี/ดอยผาหมี เพราะอยากจะสำรวจเส้นทางไปในตัว ไหนๆ ก็พาตัวเองเสี่ยงภัยบนดอยไปละ ฮาๆ จะได้มาเล่าสูกันอ่านได้ถูกต้อง ว่าควรไปเส้นทางไหนดี การเดินทางก็เริ่มต้นไม่กี่นานที ในช่วงสายๆ ออกบ้านกันประมาณ 10.30 น. ตอนไปถึงไม่ได้ดูเวลาเพราะมัวเพลิดเพลินกันวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม ฮาๆ วันนี้ฟ้าเป็นใจอย่างมาก แดดเปรี้ยงปร้างกันเลยทีเดียว ปลายฝนต้นหนาว ฟ้าก็จะสวย

สถานที่เป้าหมายที่เราจะไป “บ้านผาฮี้

เที่ยวผาฮี้

เราเลือกเส้นทางขึ้นไปทางดอยตุง ตามป้ายเลี้ยวซ้ายขึ้นดอยตุง และก็ไปดอยผาช้างมูบ

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ขึ้นดอยตุงแล้ว ก็ขับรถไปทางดอยช้างมูบ บนดอยช้างมูบจะมีจุดแวะเที่ยวด้วย สามารถแวะชมกุหลาบพันปีกัน แต่รอบนี้เราไม่ได้แวะ

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

เมื่อมาถึงดอยช้างมูบ จะมีป้ายบอกว่า สวนรุกชาติ แม่ฟ้าหลวง ดอยช้างมูบ เราจอดรถแวะเข้าห้องน้ำ และก็เดินเล่นนิดหน่อย แต่ไม่ได้ลงไปเที่ยวสวน อยู่บนดอยอากาศก็จะเย็นๆ ทั้งๆ ที่ใกล้จะเที่ยงแล้ว

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

มุ่งหน้าเดินทางต่อ อีก 3 กิโลเมตร ถึง บ้านผาฮี้ จากตรงนี้ไปทางก็จะค่อนข้างทรุดโทรม และแคบ ต้องขับรถอย่างระมัดระวัง

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ต้นส้น ต้นไม้เรียงราย สวยงามตลอดข้างทาง สภาพถนนบางช่วง ฝนตกก่อนหน้าที่เราเดินทางไป ก็จะดูชื้นๆ หน่อย

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ผ่านฐานปฎิบัติการดอยช้างมูบ ที่นี่มีจุดชมวิวให้พวกเราได้แวะชมกันด้วย เราไม่พลาดเรื่องวิวสวยๆ แน่นอน

ดอยช้างมูบ

จอดรถ เดินเข้าไปยังจุดชมวิวดอยช้างมูบ

ดอยช้างมูบ

ณ ฐานนี้มีรัก มีทหารเฝ้า ขอตรวจบัตรประชาชนด้วย เพราะเป็นเขตชายแดนระหว่างไทยกับพม่า

ดอยช้างมูบ

เราอยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล 1,485 เมตร

ดอยช้างมูบ

มองลงไป นั่นประเทศเมียนมา (พม่า)

เขตชายแดนไทย-เมียนมา ดอยช้างมูบ

จุดชมวิว แนวบังเกอร์ แนวเขตชายแดนไทย-เมียนมา

เขตชายแดนไทย-เมียนมา ดอยช้างมูบ

ต้นสนสวยมาก

เขตชายแดนไทย-เมียนมา ดอยช้างมูบ

เมฆเยอะไปหน่อย มีทั้งขาว และเทาปนกัน แต่ก็ได้สีเขียวมาช่วยหน่อย ดูยังไงก็สวย ที่เห็นมีบ้าน มีถนนกลางดอยนั้นเป็นฝั่งพม่า

เขตชายแดนไทย-เมียนมา ดอยช้างมูบ

ดูวิวจนหนำใจ ก็เดินทางต่อ สภาพถนนที่ต้องไปต่อละจ้า วันหยุดชาว Big Bike จะขึ้นมาเที่ยวกันเยอะ

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

วิวก็สวย ถนนก็พัง คนขับรถก็อยากดูวิว ถนนก็ต้องดู ลุ้นทั้งถนน และวิว ฮาๆ โค้งหักศอกงี้ ทางเป็นหลุมงี้

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ถึงแล้ว บ้านผาฮี้ ป้ายก็เริ่มเลือนลาง

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ตรงหมู่บ้านจะมีลานเล่นกีฬาอยู่ สามารถจอดรถบนนั้นได้ แล้วค่อยเดินเข้าไปในหมู่บ้าน ทางจะลาดชัน ป้ายอย่างใหญ่ ลืมถ่ายเฉพาะป้าย เอาแบบป้ายติดภาพคนแทนละกัน ฮาๆ

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

โรงคั่วกาแฟ ร้านกาแฟ โฮมสเตย์ มีหมด

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ลานสาวกอด จุดนี้ต้องเดินลงมาอีก (ไม่ได้เลี้ยวไปตรงโรงคั่วกาแฟ)

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ทดสอบความเป็นเด็ก ฮาๆ ดูวิวสิ!

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

วิวนี้ได้แต่ Wow Wow Wow

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

เป้าหมายเรา ไป ร้านกาแฟภูผาฮี้ ที่กำลังฮิต เพราะมีมุมถ่ายรูปมหาชนนั่นเอง

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

มุมถ่ายรูปมหาชน ณ ร้านกาแฟภูผาฮี้

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ภาพภายในหมู่บ้าน อยู่กันตามความลาดชันของดอย

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ร้านค้าเล็กๆ ภายในหมู่บ้าน

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

เป็นศูนย์การเรียนรู้หลากหลาย

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

ภาพนี้ คือ ถ่ายได้ตอนขากลับลงดอย ความบังเอิญ มักจะทำให้เราได้ภาพแบบไม่คาดคิดมาก่อน

เที่ยวบ้านผาฮี้-บ้านผาฮี้ แม่สาย เชียงราย

 

การที่เราได้ตัดสินใจไปเส้นทางดอยช้างมูบ ทำให้เราได้แวะเที่ยวอยู่หลายจุดเลยทีเดียว ตามภาพที่นำมาโพสต์ให้รับชมกัน วิวทิวทัศน์ภูเขาสลับซับซ้อนกัน ย้ำให้พวกเราเห็นว่า “ธรรมชาติ สวยงามเสมอ” ช่วยกันรักษาธรรมชาติให้คงอยู่นานเท่านาน พวกเราก็จะได้เห็นอะไรสวยๆ งามๆ แบบนี้ตลอดไป สำหรับนักท่องเที่ยวที่ต้องการจะขึ้นไปชมวิวสวยๆ ต้องระมัดระวังเรื่องการขับรถบนเขาด้วย เพราะถนนลาดยางก็จริง แต่ชำรุด ทรุมโทรมมาก บางจุดก็แคบ ชัน โค้งหักศอก ก็มีหลายจุด ค่อยๆ ขับ ค่อยๆ ไป เช็คสภาพรถให้พร้อมกับการขึ้นเขาสูงก่อนเดินทางด้วยทุกครั้ง แล้วจะสนุกกับการเดินทาง จะตื่นตาตื่นใจกับวิวตลอดเส้นทาง เป็นความสุขที่พวกเราหาได้จากริมทางของจริงเลยละคะ ^-^

 

ขอให้สนุกกับการท่องเที่ยวไปในที่ต่างๆ นะคะ

หนึ่ง

23 กันยายน 2561

 

คลิปรวมๆ สภาพถนนระหว่างทางขึ้นไปบ้านผาฮี้ – เที่ยวเชียงราย บ้านผาฮี้

 

 

รวมรูป เที่ยวบ้านผาฮี้-ดอยผาฮี้

 

 

แนะนำที่เที่ยวเชียงราย อีกที่หนึ่ง “ดอยสะโง้” อยู่ที่ อ.เชียงแสน

 

จังหวัดเชียงราย เป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบน ของประเทศไทย ตั้งอยู่ทางทิศเหนือสุดของประเทศไทยในเชิงภูมิศาสตร์ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศพม่าและประเทศลาว ทางตอนเหนือและตะวันออก, จังหวัดพะเยา และ จังหวัดลำปาง ทางทิศใต้ และจังหวัดเชียงใหม่ ทางทิศตะวันตก จังหวัดเชียงรายเป็นพื้นที่ดั้งเดิมของชาวไทยวน ปัจจุบันพื้นที่ของจังหวัดเชียงราย ประกอบด้วยเมืองที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาตั้งแต่ยุคก่อตั้ง หิรัญนครเงินยางเชียงแสน และ อาณาจักรล้านนา เช่น เมืองเงินยาง เมืองเชียงแสน และ เมืองเชียงราย ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายแบ่งการปกครองออกเป็น 18 อำเภอ มีแม่น้ำกก แม่น้ำอิง แม่น้ำรวก และแม่น้ำโขง เป็นแม่น้ำสายสำคัญ ทำเลที่ตั้งของจังหวัดเชียงรายอยู่บริเวณรอยต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ประเทศไทย ประเทศพม่า และประเทศลาว หรือรู้จักกันในนามของดินแดนสามเหลี่ยมทองคำ ในอดีตเคยเป็นแหล่งผลิตและขนส่งฝิ่นที่สำคัญของโลก ปัจจุบันจังหวัดเชียงรายเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2561 มีจำนวนนักท่องเที่ยวรวมมากเป็นอันดับสองในภาคเหนือ รองจากจังหวัดเชียงใหม่ จำนวนราว 3,600,000 คน คิดเป็นชาวต่างชาติราว 620,000 คน สร้างรายได้ให้กับจังหวัดราว 28,500 ล้านบาท โดยมีท่าอากาศยานประจำจังหวัดคือท่าอากาศยานนานาชาติแม่ฟ้าหลวง เศรษฐกิจของจังหวัดเชียงรายมาจากเกษตรกรรมเป็นหลัก โดยมาจากการเกษตร การป่าไม้ และประมง ซึ่งมีมูลค่ารวมกว่า 32,500 ล้านบาท

เมืองเชียงรายมีประวัติศาสตร์อันยาวนาน เป็นที่ตั้งของหิรัญนครเงินยางเชียงแสน ซึ่งเป็นนครหลวงก่อนการกำเนิดอาณาจักรล้านนา มี “คำเมือง” เป็นภาษาท้องถิ่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวทั้งด้านศิลปะ ประเพณีวัฒนธรรมที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ในรูปแบบล้านนา ไทใหญ่ ไทเขิน และไทลื้อจากสิบสองปันนาผสมผสานกัน นอกจากนี้จังหวัดเชียงรายยังขึ้นชื่อว่าเป็น “เมืองศิลปะ” และเป็นที่เกิดของศิลปินที่มีอิทธิพลอย่างมากในวงการศิลปะไทย โดยเฉพาะ ถวัลย์ ดัชนี ผู้สร้างสรรค์บ้านดำ และ เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ ผู้สร้างสรรค์วัดร่องขุ่นและหอนาฬิกาเมืองเชียงราย สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของเชียงรายที่มีเอกลักษณ์เฉพาะของศิลปิน และเป็นแบบอย่างของวัดร่องเสือเต้นซึ่งเป็นอีกสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ

วัฒนธรรม และประเพณี

  • แห่พระแวดเวียง ประเพณีอัญเชิญพระพุทธรูปแวดเวียงเชียงราย ซึ่งมีพื้นฐานความคิดมาจากตำนานพระเจ้าเลียบโลก ด้วยมีจุดมุ่งหมาย ให้ประชาชนได้มีโอกาสสักการบูชาพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ซึ่งประดิษฐานอยู่ตามวัดวาอารามต่างๆ ในตัวเมืองเชียงราย เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ชีวิตใ นวาระของการส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ โดยการอัญเชิญพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองเชียงราย มาประดิษฐานบนบุษบกที่ได้สร้างขึ้นโดยช่างศิลปินที่มีชื่อเสียงของจังหวัดเชียงราย จัดตั้งเป็นขบวนอัญเชิญไปรอบเมืองเชียงราย ให้พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสกราบไหว้สักการบูชาด้วย ข้าวตอก ดอกไม้ เป็นการเริ่มต้นปีใหม่ที่เป็นสิริมงคลยิ่งนัก
  • ปอยหลวง งานบุญปอยหลวง เป็นเอกลักษณ์ของชาวล้านนา ซึ่งเป็นผลดีต่อสภาพทางสังคมหลายประการ นับตั้งแต่ชาวบ้านได้มาทำบุญร่วมกัน ร่วมกันจัดงานทำให้เกิดความสามัคคีในการทำงาน งานทำบุญปอยหลวงยังเป็นการรวมญาติพี่น้องที่อยู่ต่างถิ่นได้มีโอกาสทำบุญร่วมกัน และมีการสืบทอดประเพณีที่เคยปฏิบัติกันมาครั้งแต่บรรพชนไม่ให้สูญหายไปจากสังคม ช่วงเวลา จากเดือน 5 จนถึงเดือน 7 เหนือ (ตรงกับเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนเมษายน หรือเดือนพฤษภาคมของทุกปี) ระยะเวลาประมาณ 3-7 วัน
  • ป๋าเวณี ปี๋ใหม่เมือง งานประเพณีสงกรานต์ จัดขึ้นประมาณกลางเดือนเมษายน ในงานมีขบวนแห่ และสรงน้ำพระเจ้าล้านทอง การแข่งเรือ และการละเล่นพื้นเมืองและมหรสพ จัดบริเวณตัวเมืองเชียงราย และอำเภอเชียงแสน
  • งานเทศกาลลิ้นจี่และของดีเมืองเชียงราย เทศกาลที่ชาวเกษตรกรต่างนำผลผลิตทางการเกษตรของตนมาออกร้าน โดยเฉพาะลิ้นจี่ที่มีชื่อเสียงมากของเชียงราย จัดขึ้นประมาณกลางเดือนพฤษภาคมของทุกปี ภายในงานมีการประกวดขบวนรถและธิดาลิ้นจี่ และการออกร้าน บริเวณสนามกีฬากลางจังหวัดเชียงราย
  • งานไหว้สาพญามังราย จัดให้มีพิธีบวงสรวงพญามังราย มีการออกร้าน จัดนิทรรศการของส่วนราชการและเอกชน และงานรื่นเริงอื่น ๆ จัดวันที่ 23 มกราคม-1 กุมภาพันธ์
  • เป็งปุ๊ด หรือ เพ็ญพุธ เป็นประเพณีตักบาตรเที่ยงคืนค่อนรุ่งเข้าสู่วันเพ็ญขึ้น15 ค่ำที่ตรงกับวันพุธ ตามวัฒนธรรม และความเชื่อของบรรพบุรุษล้านนาไทย ที่เชื่อกันว่า พระอุปคุต ซึ่งพระอรหันต์องค์หนึ่งแปลงกายเป็นสามเณรน้อยมาบิณฑบาตโปรดสัตว์โลกในยามเที่ยงคืน และชาวล้านนาในอดีตเชื่อว่าการทำบุญตักบาตรถวายพระอุปคุตในวันเป็งปุ๊ดก็จะได้ชื่อว่าเป็นผู้มีบุญ มีโชคลาภและร่ำรวย บังเกิดความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต โดยบรรพบุรุษชาวล้านนาเชื่อว่า ทุกคืนที่ย่างเข้าสู่วันพุธขึ้น 15 ค่ำ เป็นวันเป็งปุ๊ด และจะมีประชาชนชาวล้านนาจำนวนมากมารอ เพื่อประกอบพิธีทำบุญตักบาตรพระภิกษุสามเณร
  • งานอนุรักษ์มรดกไทยล้านนา จัดในเดือนเมษายน มีการจัดนิทรรศการและการแสดงแบบไทยล้านนา มีการสาธิตงานศิลปะ บริเวณหอวัฒนธรรมนิทัศน์ อำเภอเมือง
    งานประเพณีขึ้นพระธาตุดอยตุง จัดขึ้นในวันขึ้น 14-15 ค่ำ เดือนหกเหนือ หรือเดือนมีนาคม เป็นประเพณีของชาว ล้านนา รวมทั้งชาวไทยใหญ่ในพม่าที่ปฏิบัติสืบต่อกันมา โดยชาวบ้านและพระสงฆ์ จะเดินขึ้นพระธาตุในตอนกลางคืน เมื่อมาถึงก็จะพากันนมัสการองค์พระธาตุก่อน จากนั้นจึงหาพื้นที่ประกอบอาหารเพื่อตักบาตรในตอนเช้า หลังจากตักบาตรแล้วจะ ช่วยกันบูรณะบริเวณองค์พระธาตุ เมื่อถึงยามค่ำคืนก็มารวมกันที่ปะรำพิธีเพื่อฟังเทศน์
  • ประเพณีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก เป็นประเพณีเกี่ยวกับความเชื่อของผู้คนที่อยู่ริมแม่น้ำโขง โดยเฉพาะชาวประมง ในเขตบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ เกี่ยวกับปลาบึกซึ่งเป็นปลาขนาด ใหญ่อาศัยอยู่ในแม่น้ำโขงว่า เป็นปลาศักดิ์สิทธิ์ มีเทพเจ้าคุ้มครอง ก่อนที่ชาวประมง จะจับปลาบึกต้องมีการบวงสรวงก่อน ฤดูกาลจับปลาบึกระหว่างเดือนเมษายน-พฤษภาคม
  • ประเพณีโล้ชิงช้าของชาวอีก้อ หรือที่เรียกตนเองว่า “อาข่า” มีเชื้อสายจากจีน-ทิเบต เดินทางอพยพมาอยู่บริเวณ ชายแดนไทย-พม่า แถบตอนเหนือของลำน้ำกก โดยเฉพาะอำเภอแม่จัน และแม่สาย การโล้ชิงช้าเป็นการขึ้นไปขอพรและแสดงความรำลึกถึงพระคุณของเทพธิดาแห่ง สรวงสวรรค์ ผู้ประทานความชุ่มชื่นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหารและ ยังเป็นการเซ่นไหว้บรรพบุรุษอีกด้วย จัดในช่วงเดือนสิงหาคม

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ จังหวัดเชียงราย ได้ที่ wikipedia.org

 

Facebook Comments