เจริญกรุง 22 (ตรอกตลาดน้อย)

เจริญกรุง 22

เจริญกรุง 22 (ตรอกตลาดน้อย)

เป้าหมายการเดินเล่นในเมืองหลวงครั้งนี้ ก็คือ ถนนเจริญกรุง 22 หรือเรียกว่า ตรอกตลาดน้อย หลังจากเดินเล่นตรง สถานีรถไฟหัวลำโพง แล้ว ก็เดินออกมาโบกรถตุ๊กตุ๊ก เพื่อนั่งไปยังถนนเจริญกรุง 22 จริงๆ ดูแล้วก็ไม่ไกลเท่าไหร่ น่าจะเดินไปได้ แต่ไม่เอาดีกว่ากลัวหมดแรง ฮาๆ อยากสนุกเลยนั่งรถตุ๊กตุ๊กละนะ เจอค่ารถตุ๊กตุ๊กไป 100 บาท เพราะเป็นวันเวย์ แหม่หนะ! ยอมให้วันหนึ่งละกัน เพราะความอยากนั่งเลยจำต้องจ่ายแพง ฮาๆ

ลงตรงป้ายเป๊ะๆ อากาศร้อนอบอ้าว ดีไม่แบกเป้มาด้วย มีแต่กระเป๋ากล้อง

เริ่มออกกำลังกายโดยการเดินเข้าไปในย่านเมืองเก่า เดินเดี่ยวๆ มองโน่นที นี่ที ซ้ายที ขวาที เดินเข้าไปตามซอกซอย เจอทั้งชาวต่างชาติ และชาวไทย เดินแบบระวังหน้าหลังตลอดทาง ฮาๆ ดูภาพกันเองนะจ๊ะ อากาศเป็นใจ แดดเปรี้ยงปร้าง ดูวิถีชีวิตคนกรุงย่านเมืองเก่า เหมือนหลุดไปอยู่อีกโลกเลย

เดินเล่นเจริญกรุง 22

เดินเล่นเจริญกรุง 22

เดินเล่นเจริญกรุง 22

เดินกันขวักไขว่เห็นจะเป็นนักท่องเที่ยวชาวต่างชาตินี่แหละ

มีเพื่อนร่วมทาง เดินตามเขาไป ฮาๆ

เดินไปมา เดินมาทะลุต้นซอย เจอแม่น้ำเจ้าพะเยาซะงั้น ยืนรับลมเย็นๆ แป๊ปหนึ่งก็เดินกลับออกมา ย้อนกลับเพื่อจะไปบ้านโซว เฮง ไถ่ ดูแผนที่ในมือถือ ถามคนแถวนั้นด้วย แผนที่เร็วที่สุดคือ แผนที่จากการถามคนในพื้นที่นั่นเอง ฮาๆ

เดินเล่นเจริญกรุง 22

จุดถ่ายภาพมหาชนละสิ สำหรับรถสีส้มคันนี้

เดินเล่นเจริญกรุง 22

เจอแล้ว บ้านโซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน เป็นคฤหาสน์เก่าแก่ ที่มีอายุกว่า 220 ปี เห็นทางเข้าก็ดูมีมนต์ขลังเลยทีเดียว

บ้านโซว เฮง ไถ่ มี 2 ชั้น ปัจจุบันพื้นที่ตรงลานโล่งชั้นล่าง ถูกปรับให้เป็นสระว่ายน้ำ เพื่อสอนดำน้ำ

โซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน

ค่อยๆ เดิน ด้วยน้ำหนักเท้าให้เบาที่สุด เพราะเป็นพื้นไม้ที่เก่าแก่ ช่วยทนุถนอมบ้านให้กับเจ้าของบ้านด้วย จะได้มีให้พวกเราได้ชื่นชมกันนานๆ สำหรับงานสถาปัตกรรมที่หาดูยากแบบนี้

โซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน

เดินดู ถ่ายภาพไปเรื่อยๆ

โซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน

ชั้น 2 มีจุดนั่งพัก มีกาแฟ มีน้ำขายให้นักท่องเที่ยวด้วย ก็เลยได้นั่งพัก และได้เห็นเขามาเรียนดำน้ำกันด้วย

โซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน

โซวเฮงไถ่ หรือ บ้านดวงตะวัน

โซวเฮงไถ่ สอนดำน้ำ

อยู่ที่บ้านโซว เฮง ไถ่ น่าจะประมาณ 1 ชั่วโมง ก็เดินออกมา เดินลัดเลาะไปตรอกซอยเรื่อยๆ พยายามเดินหาที่เขาวาดรูปไว้บนกำแพง

เดินเล่นเจริญกรุง 22

เดินมาเจอศาลเจ้าก็เลยแวะไหว้ตรงด้านหน้าศาลเจ้า และก็เดินออกตามหาภาพวาดต่อ

ศาลเจ้าโรงเกือก

โคมไฟ ณ ศาลเจ้า

ศาลเจ้าโรงเกือก

ระหว่างทางก็มีป้าเขาทำขนมเทียนขายด้วย แวะขอถ่ายภาพนิดหนึ่ง

ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

บรรยายเก่าๆ หาดูยากละ ขอบันทึกไว้ในความทรงจำ

ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

เจอแล้ว!!!! กดชัตเตอร์รัวๆ ไปคนเดียว ไม่ถ่ายเซลฟี่ด้วย เลยไม่มีรูปตัวเอง ฮาๆ

ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

เดินเรื่อยเปื่อย เดินไปเดินมา ทะลุตรอกซอยไหนไม่รู้ละ

ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

มารู้อีกทีอ้าว นี่คือ ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

ตรอกศาลเจ้าโรงเกือก

เดินเก็บบรรยากาศต่อไปเรื่อยๆ

เดินเล่นเจริญกรุง 22

เดินเล่นเจริญกรุง 22

โบสถ์กาลหว่าร์

โบสถ์กาลหว่าร์

โบสถ์กาลหว่าร์

ได้เวลาต้องกลับแล้ว โบกรถตุ๊กตุ๊กอีกรอบ เพื่อไปยังสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน รอบนี้ 40 บาท

สถานีรถไฟหัวลำโพง กรุงเทพฯ

สถานที่ต่างๆ ที่น่าจะไปเที่ยวก็ยังมีอีกเยอะ ไว้โอกาสหน้าจัดทริปให้ตัวเองใหม่ แม้จะมีเวลาเพียงเล็กน้อย อย่างน้อยเราก็ได้ทำตามที่เราตั้งใจ ทำในตอนที่มีแรง อย่ารอให้หมดแรงแล้วค่อยทำนะจ๊ะ

 

 

รวมภาพ

 

แขวงตลาดน้อย เป็นแขวงหนึ่งในพื้นที่การปกครองของเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

พื้นที่บริเวณตลาดน้อยเป็นถิ่นอยู่อาศัยของชาวจีนโพ้นทะเล และชาวไทยเชื้อสายจีนอีกแห่งหนึ่ง นอกเหนือจากย่านเยาวราช และสำเพ็งที่อยู่ใกล้เคียง มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ยาวนานตั้งแต่สมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมเป็นตลาดที่คึกคักมาก โดยเรียกกันในภาษาแต้จิ๋วว่า “ตั๊กลักเกี้ย” (อักษรจีน: 噠叻仔; ลูกตลาด, ตลาดน้อย) มีที่มาจากเจ้าสัวเนียม หรือเจ๊สัวเนียม ผู้เป็นเจ้าของที่ดินแถบนี้มีลูกสาวคนหนึ่งชื่อ “น้อย” เป็นท่าเรือ และชุมชนที่รุ่งเรืองก่อนเยาวราช โดยมีชาวโปรตุเกส เป็นชนกลุ่มแรกที่เข้ามาอาศัยอยู่ จากนั้นจึงตามมาด้วยชาวจีน, ชาวญวน รวมถึงเขมรมาปักหลักอาศัย ปัจจุบันมีสภาพเป็นบ้านเรือนที่อาศัยของผู้คนในลักษณะอาคารพาณิชย์ขนาดเล็ก และตรอกซอกซอยต่าง ๆ และยังมีศาสนสถานสำคัญของหลายศาสนา และมีสิ่งก่อสร้างที่เป็นจุดเด่น เช่น ริเวอร์ซิตี้ หรือ สะพานพิทยเสถียร อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ โดยหลายอาคารนั้นเป็นอาคารที่เก่าควรค่าแก่การอนุรักษ์ มีมากถึง 64 อาคาร

ตลาดน้อยเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ด้วยความเก่าแก่ของอาคารสถานที่ และวิถีชีวิตของผู้คนที่ยังคงเหมือนเดิมเช่นในอดีตอยู่ โดยมีถนนสายหลัก คือ ถนนเจริญกรุง บนพื้นที่ติดกับแขวงมหาพฤฒาราม เขตบางรัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซอยเจริญกรุง 22 หรือ ตรอกตลาดน้อย ภายในซอยมีหลายสถานที่ ๆ ได้รับความสนใจ เช่น ศาลเจ้าโจวซือกง, บ้านโซวเฮงไถ่ บ้านโบราณที่มีอายุกว่า 200 ปี สร้างด้วยสถาปัตยกรรมแบบซื่อเหอย่วนของจีน, เซียงกง หรือ ซอยวานิช 2 แหล่งรวมอะไหล่รถยนต์ที่มีชื่อเสียง, โบสถ์กาลหว่าร์ ศาสนสถานของศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก, กรมเจ้าท่า และธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาตลาดน้อย ซึ่งเป็นธนาคารแห่งแรกของประเทศไทย ตัวอาคารธนาคารเป็นสถาปัตยกรรมแบบโบซาร์ผสมนีโอคลาสสิก โดยก่อสร้างตั้งแต่ พ.ศ. 2451 ติดริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ปัจจุบันก็ยังคงเปิดให้บริการอยู่ ซึ่งอาคารแห่งนี้เคยได้รับรางวัลอนุรักษ์สถาปัตยกรรม ASA ในปี พ.ศ. 2525 และบูรณะปรับปรุงในปี พ.ศ. 2538 นอกจากนี้แล้วถนนเจริญกรุงในแถบนี้ในอดีตยังปรากฏร่องรอยรางของรถรางบนพื้นถนนอีกด้วย ก่อนจะถูกราดทับด้วยยางในปลายปี พ.ศ. 2558

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ wikipedia.org

 

 

 

 

Facebook Comments