นึกถึง “แกงผักแว่น” เลยโพสต์เรื่อง “ผักแว่น” กันซะหน่อย คุณหนึ่งทานแกงผักแว่นมาตั้งแต่เด็กๆ จนถึงตอนนี้ ก็ยังชอบทานอยู่เป็นประจำ วันก่อนนี้ก็ทำทานกันที่บ้าน นึกสงสัยว่าบ้านคุณหนึ่งเรียกว่า “ผักแว่น” แล้วทางภาคกลาง ภาษากลางเราเขาเรียกอะไรกันน๊า?.. วันนี้ค้นดู ฮ่าๆ เขาเรียก “ผักแว่น” เหมือนกันนี่นา… เลยค้นดูข้อมูล “ผักแว่น” ต่อซักกะหน่อย อืม มีสรรพคุณเยอะเหมือนกัน
“ผักแว่น” มีชื่ออื่นด้วยนะชื่อ ผักแว่น (เหนือ อีสาน กลาง ), ผักลิ้นปี่ (ใต้), หนูเต๊าะ (กระเหรี่ยง-ภาคเหนือ), มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ Marsilea crenata Presl, ชื่อสามัญ Water Clover , Water fern (อินเตอร์ใช่ย่อย แฮ่ะ) พบทั่วไปในทุกภาพ , เป็นประเภท ไม้น้ำ พบตามหนองน้ำ ตามทุ่งนาฤดูฝน (ช่วงนี้เลยได้ทานบ่อยมากๆๆ ) การปรุงอาหาร ทั้งเถา นำมารับประทานเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริก ส้มตำ ลาบ ซุปหน่อไม้ ก้อย หรือนำไป ประกอบอาหาร เช่น แกงจืด แกงอ่อม
สรรพคุณทางสมุนไพร ทั้งต้น รสจืดเย็นฝาดหวานเล็กน้อย สมานแผลในปากและลำคอ ระงับร้อน แก้ไข้ ร้อนในกระหายน้ำ ดับพิษ แก้ดีพิการ
ประสบการณ์พื้นบ้าน หอมเมืองล้านนา ใช้ทั้งต้นนำมาตำรวมกับน้ำพริกปู๋แก้โรคเก๊าท์ แต่ถ้าเป็นมะเร็งไม่ควรรับประทานยอดและใบอ่อน ใช้รักษาโรคตาอักเสบ โรคต้อกระจกถ้า หากมีอาการปวดศีรษะ วิเวียนศีรษะ หรือเชื้อราขึ้นสมอง ให้เอาใบผักหนอก ผักแคบ และใบผักข้าว นำมาโขลกผสมข้าวเจ้านิด ๆ แล้วนำมาพอกศีรษะจะช่วยบรรเทาอาการให้หายได้
ประโยชน์ทางอาหาร ยอดอ่อนและเถาอ่อนรับประทานเป็นผักสอ ออกมากในช่วงฤดูฝนผัก แว่นเป็นผักที่คนไทยทุกภาครู้จักและรับประทานเป็นผัก ผักแว่นเป็นผักที่ออกมากในช่วงลงนาปลูกข้าวราวเดือนสิงหาคม – กันยายน ซึ่งเป็นช่วงที่ผักแว่นจะมีรสชาติอร่อยเนื่องจากใบไม่แก่เกินไป
น้ำพริกผักจิ้ม ผัก แว่นรับประทานเป็นผักสดแกล้มกับน้ำพริกปลาร้า น้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลา น้ำพริกกบ/เขียด น้ำพริกกุ้งฝอย น้ำพริกไข่ต้ม น้ำพริกปลาย่าง น้ำพริกปู๋ น้ำพริกจิ๊นหมู
อาหารอื่น ๆ ใบ อ่อนของผักแว่น เมื่อต้มแล้วจะนิ่ม ชาวเหนือมักนิยมปรุงให้เด็กและคนเฒ่ารับประทาน หรืออาจนำผักแว่นเจี๋ยวใส่ไข่ หรือเนื้อหมู ซึ่งชาวเหนือเรียกว่า “เจี๋ยวผักแว่น”
นอก จากนี้ ยังนำมาแก๋งผักแว่น ยำผักแว่น แก๋งส้ม แก๋งใส่ปู๋ ผักแว่นยังใช้เป็นผักสดแกล้มกับส้มตำ ลาบ ก้อย หรือปรุงเป็นแกงจืดของภาคใต้ ใบอ่อนนำมาแกงร่วมกับหอมแดง กะปิ กระเทียม
คุณค่าทางโภชนาการต่อสุขภาพ ผัก แว่น 100 กรัม ให้พลังงานแก่ร่างกาย 15 กิโลแคลอรี่ ประกอบด้วยโปรตีน 1.0 กรัม ไขมัน 1.2 กรัม กาก 3.3 กรัม แคลเซียม 48 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส tr.มิลลิกรัม เหล็ก 25.5 มิลลิกรัม วิตามิน A 12166 IU. วิตามิน B1 0.10 มิลลิกรัม วิตามิน B2 0.27 มิลลิกรัม ไนอาซิน 3.4 มิลลิกรัม วิตามิน C 3 มิลลิกรัม
(ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก http://www.biogang.net/content_detail.php?menu=biodiversity&uid=144&id=1717)
คุณหนึ่งชอบทาน “แกงผักแว่น” เพราะน้ำแกงที่ได้มันจะออกหวาน ทำง่ายๆ วิธีง่ายที่คุณหนึ่งทำทาน (สวมวิญญาณเป็นแจ๋วก้นครัว บรรยายสูตรอาหารให้เพื่อนอ่านละกันนะ ฮาๆ)
หากจะทำ“แกงผักแว่น” หรือเรียกแบบภาษากลาง “แกงจืดผักแว่น” เราเริ่มเตรียมสิ่งเหล่านี้นะ
1. ปลาช่อนปิ้ง หากไม่มีปลาช่อนปิ้ง ก็ใช้ปลาอะไรก็ได้ ที่เพื่อนชอบทาน โดยเฉพาะเวลาเราเอาไปปิ้งแล้วมันหอมๆๆ อร่อยๆๆ ปิ้งเสร็จ (เพื่อนจะไปซื้อที่เขาปิ้งแล้วหรือปิ้งเองก็ได้) เสร็จแล้วก็นั่งเอาก้างออก (ภาษาเหนือ ไซ้ปล๋า ก็คือ เอาก้างออก ทำเป็นชิ้นๆ ยุ่ยๆ อะไรก็ตามใจ แบบเอาก้างออกให้หมดแล้วกันนะ เพราะป้องกันก้างปักคอ 55)
2. ผักแว่น ล้างน้ำให้สะอาดนะ เอาหญ้า แปลกปลอมอื่นๆ ออกให้หมดนะ
3. ตะไคร้ 1 ต้นพอ ทุบ และหั่น ซัก 1 – 1 นิ้วครึ่ง ก็แล้วแต่เพื่อนละ เพราะว่า เราจะเอาไปใส่ในหม้อ
4. กะปิ นิดหน่อย 1 ช้อนชาก็ได้ หรือหากไม่ค่อยชอบก็ใส่น้อยๆ ได้ ใส่เยอะมันจะสีเข้มกะปิไป
5. พริกหนุ่ม ใช้ซัก 2-3 อันก็พอ หากชอบเผ็ด ก็เพิ่มจำนวนได้ นำพริกหนุ่มไปย่างไฟด้วยนะ แล้วลอกเปลือกที่ไหม้ออก หากกลัวเผ็ดก็ขูดเอาเม็ดในออก แล้วก็หั่นเป็นชิ้นๆ จะเล็กใหญ่ก็ตามใจ (เมนูตามใจฉัน ฮาๆ)
6. เกลือ นิดหน่อย ค่อยๆ เติม เดี๋ยวเค็ม (ไม่แนะนำให้ใส่น้ำปลานะ เดี๋ยวมันจะคาว)
เตรียม 6 อย่างแล้ว ขั้นต่อไป
1. ตั้งหม้อต้มน้ำ เอาตะไคร้ที่หั่น+ทุบแล้วใส่หม้อ ต้มให้เดือด ใส่เกลือลงไป (ระวังเค็มนะเพื่อน) ต้มไปได้ซักพัก ก็ใส่กะปิลงไป ค้นให้กะปิละลาย ตั้งต่อให้น้ำเดือด (น้ำตะไคร้จะได้ออกด้วย สมุนไพรเลยอิอิ)
2. เดือดแล้ว ก็นำผักแว่นลงไปเลย คนให้ผักแว่นลงหม้อไป แล้วก็ใส่ปลาปิ้งที่เอาก้างออกแล้ว ลงไป ใส่พริกหนุ่มที่หั่นแล้วลงไป (ไม่ต้องมาก ค่อยๆ เอาใส่ ไม่งั้นเผ็ด) ใส่ครบแล้ว น้ำเดือดนิดหนึ่งชิมดู จืด เค็ม เผ็ด ไม่เผ็ด ก็ปรุงไปซะ พอใจในรสชาติ (ถ้าปรุงเท่าไหร่ไม่อร่อย เพื่อน ผงโรยฟ้า, คนอร์ ซัก 1 ก้อน ช่วยท่านได้ 555) เสร็จแล้วก็ยกหม้อลง เป็นอันเสร็จ
Facebook Comments